หลังจากที่ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) พรหมรังษี ได้มรณภาพลง เมื่อวันเสาร์แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งตรงกับ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415
ตอนเที่ยงคืน เช้าวันรุ่งขึ้น นายอาญาราช ( อิ่ม ) ศิษย์ก้นกุฏิ ของเจ้าประคุณสมเด็จ เข้าไปเก็บกวาด ในกุฏิของท่าน ขณะทำความสะอาดพื้นกุฏิ นายอาญาราชได้พบ เศษกระดาษชิ้นหนึ่งซุก อยู่ใต้เสื่อเป็นลายมือของเจ้าประคุณสมเด็จ เขียนสั้นๆ โดยสังเขป เป็นคำทำนายชะตาเมือง มีความว่า
“มหากาฬ พาลยักษ์ รักมิตร สินทธรรม จำแขนขาด ราษฎร์จน ชนร้องทุกข์ ยุคทมิฬ ถิ่นกาขาว ชาววิไล”
หมายเหตุ คำทำนายของสมเด็จข้างต้นนี้หาอ่านได้จากหนังสือ " NOSTRADAMUS นอสตราดามุส"
คำพยากรณ์ที่ว่าเป็นปริศนา คือ พูดให้คิดกันไปเอง มีด้วยกัน ๑๐ ข้อ ดังนี้
๑. มหากาฬ ๒.พาลยักษ์ ๓.รักมิตร (รักบัณฑิต) ๔. สนิทธรรม ๕. จำแขนขาด ๖.ราษฎร์โจร (ราชโจร) ๗.ชนร้องทุกข์ ๘.ยุคทมิฬ ๙. ถิ่นตาขาว(ถิ่นกาขาว) ๑๐.ชาวศิวิไลซ์
ทีนี้เราจะมาว่าคำขยาย หรือความหมาย ความเป็นไป ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นมาแล้วถึง ๙ ยุค ๙ สมัย หรือ ๙ รัชกาล กันบ้างว่าเป็นอย่างไร ส่วนรัชกาลที่ ๑๐ นั้น ยังไม่เกิด ดังนั้น คำขยายความหมาย หรือเหตุการณ์ จึงเป็นเรื่องของคำพยากรณ์ ทัศนคติ หรือข้อวิจารณ์ของแต่ละคน รวมถึงข้อวิจารณ์ของผมด้วยซึ่งต้องอาศัยกาลเวลาเท่าน ั้นเป็นเครื่องพิสูจน์
๑. มหากาฬ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงปราบดาภิเษก คือปราบกบฎที่ก่อความเดือดร้อนให้บ้านเมือง และสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราช ที่ทรงถูกพวกกบฎจับกุมคุมขังและยึดอำนาจ ฐานวิกลจริต (กล่าวหาว่าเป็นบ้าเสียสติ)ด้วยการนำไปประหารชีวิตด้ วยท่อนจันทน์ และตั้งตนเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ในการนี้ทำให้ผู้ที่จงรักภักดีต่อพระเจ้าตาก และผู้ที่ไม่เห็นด้วย รวมไปถึงผู้ที่เสียผลประโยชน์ เกิดแข็งข้อ ไม่ยอมสวามิภักดิ์แต่โดยดี ไม่ยอมรับว่างั้นเถอะ จึงได้มีพระบรมราชโองการปราบพวกไม่เห็นด้วย หรือพวกกบฎต่อแผ่นดินใหม่ให้ราบคาบ มีการสังหารล้างโคตรกันทีเดียว ถึง ๘๒ ครัวเรือน มีการประกาศใช้กฎปราบกบถ กฎมณเทียรบาล และกฎอัยการศึก ชนิดตาต่อตา ฟันต่อฟัน ซึ่งเป็นเรื่องหวาดเสียว น่ากลัวมาก เพราะบ้านเมืองที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่ (คือสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงใหม่) ยังระส่ำระสาย หาความเป็นปึกแผ่นมั่นคงไม่ได้ จึงต้องทำทุกอย่างด้วยความเฉียบขาด จึงเรียกยุคนี้ว่า "ยุคมหากาฬ" หรือ"ยุคดำมืด" เนื่องจากยังไม่แน่ใจว่า "บ้านเมืองใหม่จะอยู่หรือจะไป" ยิ่งมีสงคราม ๙ ทัพ จากพวกคุณหม่องมาสั่นประสาทชาวบ้านด้วยแล้ว ใครเกิดยุคนี้ล่ะก็ ร้องได้คำเดียวว่า "กลัวแล้วจ้า" (เพราะคนไทยยังไม่หายเข็ดกลัวพม่ายังไม่เชื่อมั่นในต ัวผู้นำและขุนนาง เพราะสร้างความเหลวแหลกไว้เยอะในตอนก่อนเสียกรุงศรีอ ยุธยา)
๒. พาลยักษ์ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นยุคแห่งความวิบัติเคราะห์ร้าย ของผู้คนในแผ่นดิน เนื่องจากเกิดอหิวาตโรค (โรคห่า โรคท้องร่วง) ในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ โรค ได้ระบาดไปทั่วเมือง มีผู้คนล้มตายลงวันละมากๆ เพราะการแพทย์ในสมัยนั้นยังไม่เจริญ ตามสุสานวัดสำคัญต่าง ๆ เช่น วัดสระเกศ , วัดบพิตรพิมุข เต็มไปด้วยซากศพผู้เสียชีวิต ในแม่น้ำลำคลองก็ยังมีซากศพลอยขึ้นอืดกันให้เกลื่อน เป็นที่อุจาดตาส่งกลิ่นเหม็นเน่าคละคลุ้ง น่าสะอิดสะเอียนเป็นยิ่งนัก ถนนหนทางมีแต่ความเงียบสงัดวังเวง ผู้คนต่างหลบซ่อนอยู่ภายในบ้าน บางครอบครัวก็อพยพหลบหนีโรคร้ายไปอยู่เสียหัวเมือง ในการนี้ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๒ ถึงกับรับสั่งให้ทำพระราชพิธียิงปืนใหญ่รอบกำแพง พระบรมมหาราชวัง ๑ คืน (เป็นความเชื่อที่ว่า โรคห่า เกิดจากการกระทำของยักษ์มาร ภูติผีปีศาจ จึงต้องมีพิธีการสวดมนต์ ปัดรังควาน ยิงปืนใหญ่ขับไล่ ให้มันตกใจกลัวจะได้หนีไป ทำคล้ายกับพิธีสวดภาณยักษ์ หรือสวดอาฎานาฎิยปริตร นั่นแหละครับ) ทรงให้อัญเชิญพระแก้วมรกตอันศักดิ์สิทธิ์ และพระบรมธาตุออกแห่แหน เป็นการขับไล่และปลอบขวัญพลเมือง ในที่สุดโรคร้ายก็สงบ แต่กว่าจะสงบราบคาบประมาณกันว่ามีผู้เสียชีวิตถึงสาม หมื่นคนทีเดียว นับว่าไม่น้อยเลยครับในสมัยนั้น
๓. รักมิตร หรือ รักบัณฑิต ในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถมา กในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการปกครอง การค้าขายกับต่างประเทศ (รัชกาลที่ ๒ ทรงสัพยอกท่านว่า"เจ้าสัว") ได้มีการเริ่มต้นเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศอันไ ด้แก่ อังกฤษ, อเมริกา ฯลฯ โดยเริ่มต้นจากการค้านั่นเอง ดังนั้นจึงเป็นยุคที่ทรงโปรดปรานชุบเลี้ยงคนที่ตั้งใ จทำราชการอย่างจริงจัง มากกว่าพวกประจบสอพลอ
๔. สนิทธรรม ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า พระองค์ท่านทรงออกผนวชนานถึง ๒๗ พรรษา ตลอดรัชกาลที่ ๓ เลยก็ว่าได้ จะเรียกว่าบวชลี้ภัยการเมืองก็ได้ เพราะขนาดออกบวชแล้ว ยังไม่วายูกใส่ร้ายป้ายสี ว่าจะก่อการกบถเลยครับ(ดีนะครับที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๓ ท่านทรงมีน้ำพระทัยหนักแน่น เยือกเย็น ไม่หูเบา) ดังนั้นเมื่อพระองค์ท่านลาสิกขาขึ้นครองราชย์ตามคำกร าบบังคมทูลเชิญของข้าราชบริพารจึงทรงฝักใฝ่ใธรรม สนับสนุนการเผยแพร่จริยธรรม ตลอดจนการพระศาสนาต่างๆ พระองค์เองก็ทรงชุดขาวถือศีล ๘ อย่างเคร่งครัด ฟังธรรมทุกวันธรรมสวณะจึงเรียกยุคนี้ว่า"ยุคสนิทธรรม
๕. จำแขนขาด ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดเป็นยุคที่น่าเศร้าใจอีกยุคสมัยหนึ่ง เพราะเป็นสมัยที่พวกตะวันตก โดยเฉพาะอังกฤษ และฝรั่งเศส กำลังแข่งขันกรีฑาทัพเข้ายึดประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเซีย เป็นเมืองขึ้น หรือที่เรียกกันว่า "ยุคล่าอาณานิคม" เมืองสยามของไทยเรานั้น เป็นเมืองรักสงบ เปรียบเสมือนลูกแกะ ไม่มีเขี้ยวเล็บอะไรที่จะไปต่อกรกับชาติมหาอำนาจอย่า งกับอังกฤษและฝรั่งเศส ประเทศเพื่อนบ้านรอบ ๆ ไทยเรา ก็โดนเขากวาดเรียบไปหมดแล้ว เหลือพี่ไทยอยู่เจ้าเดียวเท่านั้น ดังนั้นในสมัยนี้ ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส จึงบีบไทยทุกด้าน หาเรื่องทุกอย่าง ที่จะเป็นเหตุยกทัพบุกยึดประเทศให้ได้ แต่ด้วยพระปรีชาญาณแห่งองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง พระองค์ได้ดำเนินวิเทศโยบายอย่างรัดกุม ทรงเสด็จประพาสยุโรป ถึง ๒ หน รวมไปถึงรัสเซียมหามิตรของไทยในสมัยนั้นด้วย นับว่าเป็นผลสำเร็จอย่างดีเยี่ยมเพราะไทยเราได้เพื่อ นเอาไว้เป็นไม้กันหมา ถึงกระนั้นก็เถอะ ไทยเรายังต้องยอมเสียดินแดนส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนให ญ่เอาไว้ คือไม่ให้เกิดสงครามจนเราแพ้ต้องเสียเอกราช คือเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (ร.ศ ๑๑๒ หรือ พ.ศ. ๒๔๓๖) แก่ฝรั่งเศส หลังจากที่ในปี พ.ศ๒๔๓๑ ได้เสียแคว้นสิบสองจุไทย ให้มันไปแล้ว (ขออนุญาตใช้คำว่ามัน เพราะพฤติกรรมเยี่ยงอันธพาล)
ต่อมามันก็หาเรื่องอีก ได้ถอนทัพเรือไปยึดจันทบุรีเอาไว้ ไทยต้องยอมมันอีก โดยยกดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง และเมืองหลวงพระบาง ให้เจ้าเศษฝรั่งไปครอบครอง ให้ไปร้องไห้ไปล่ะครับ ให้จนกว่ามันจะพอใจหรือไม่สามารถหาเรื่องเราได้อีกแล ้ว ต้องจำแขนขาดเพื่อรักษาชีวิต หรือผืนดินแผ่นใหญ่เอาไว้ให้ลูกหลานจนทุกวันนี้ (เรื่องของไอ้เศษฝรั่งนี่มันยังทำแสบ โดยวางแผนปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๕ เมื่อคราวเสด็จประพาสบ้านเมืองของมันอย่างแยบยล เรื่องราวจะเป็นอย่างไร โปรดติดตามอ่านในตอน "คำพยากรณ์หลวงปู่เอี่ยม กับ ร.๕"
ส่วนอังกฤษนั้น ค่อยยังชั่วน้อยหน่อย ไม่ถึงกับพาลหาเรื่องนัก โดยในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ไทยเรายอมทำสัญญา ยกดินแดนหัวเมืองทางมาลายู คือ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ให้อังกฤษ เพื่อแลกกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต หรือ อำนาจศาลกงสุล
๖. ราษฏร์โจร (ราชโจร) ในสมัยรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคที่ไทยเรามีการนิยมของนอก มีการฟุ้งเฟ้อ เอาอย่าง เลียนแบบ วัฒนธรรมตะวันตก โดยเฉพาะในหมู่ข้าราชบริพาร ขุนน้ำขุนนางในราชสำนัก มีการแต่งตั้งยศถาบรรดาศักดิ์กันมากเกินไป จนแทบจะไม่มีความหมาย เป็นยุคเริ่มต้นแห่งภัยพิบัติในด้านเศรษฐกิจที่จะตาม มาในยุคต่อไป การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการปล้นชาติ ปล้นแผ่นดิน ทำลายแผ่นดินทางอ้อม ในสมัยนี้มีผู้คิดปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเหมือน กัน แต่ทำไม่สำเร็จกลายเป็นกบฎไป (กบฎ รศ.๑๓๐)
๗. ชนร้องทุกข์ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดเป็นยุคที่ผู้คนพลเมืองต้องประสบกับภาวะ "ข้าวยากหมากแพง" ผู้คนอดอยาก แร้นแค้นด้วยสภาวะเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ และผลสืบเนื่องมาจากการฟุ้งเฟ้อในรัชกาลก่อน มีการปลดข้าราชการออกเพราะไม่มีเงินเบี้ยหวัด เงินปีให้ เป็นสมัยที่เริ่มให้ประชาชนมีสิทธิ์มีเสียงร้องทุกข์ แสดงความคิดเห็นจนกระทั่งมีการกระทำที่รุนแรงถึงขั้น ปฏิวัติยึดอำนาจ ให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบกษัตริย์ มาเป็นประชาธิปไตย จนในที่สุดพระองค์ต้องทรงสละราชสมบัติ และเสด็จไปสวรรคต ณ ต่างประเทศ
๘. ยุคทมิฬ ในสมัยรัชกาลที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จัดเป็นอีกยุคหนึ่งที่ประวัติศาสตร์ชาติไทยต้องจารึก ไว้ไม่มีวันลืม เพราะองค์ในหลวงอันเป็นที่รักยิ่งของเรา ทรงถูกลอบปลงพระชนม์ ถึงแก่สวรรคต แม้จนกระทั่งปัจจุบันนี้ คดีก็ยังคลุมเครือ เป็นที่วิพากย์วิจารณ์ เป็นที่กินแหนงแคลงใจของคนทั่วไปถึงสาเหตุแห่งการลอบ ปลงพระชนม์ และผู้บงการ บ้านเมืองในยุคที่เริ่มเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ จัดเป็นยุคที่มีการแย่งชิงอำนาจ มีการปฏิวัติ รัฐประหาร เข่นฆ่าคนไทยด้วยกันเองจัดได้ว่าเป็น "ยุคทมิฬ" ยุคแห่งความเหี้ยมโหด ไร้ความปราณีและศีลธรรมอย่างแท้จริง
๙. ถิ่นตาขาว (ถิ่นกาขาว) ในยุคสมัยปัจจุบันแห่งองค์ล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระภัทรมหาราชเจ้า มีชื่อเรียกยุคนี้ว่า "ถิ่นตาขาว" ซึ่งคงจะหมายถึงพวกฝรั่งตาน้ำข้าวละกระมัง เพราะเป็นยุคที่องค์พระประมุขของเรา พร้อมด้วยองค์พระราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะซีกโลกทางด้านตะวันตก นอกจากนั้นแล้วยังทรงต้อนรับพระราชอาคันตุกะจากประเท ศต่าง ๆ ที่มาเยือนอย่างมากมายเช่นกัน ฝรั่งตาน้ำข้าวเองก็ "อะเมซิ่งไทยแลนด์" ไม่น้อย พากันมาเที่ยวเยี่ยมเยียน ไอ้ที่ติดใจสาวไทย รสอาหารแบบไทยๆ บรรยากาศแบบไทยๆ ก็ตั้งรกรากอยู่เมืองไทยซะเลย กลายเป็นถิ่นฐานของพวกเขาไปซะแล้ว เหตุนี้กระมังจึงเรียกยุคนี้ว่า "ถิ่นตาขาว" และอีกคำหนึ่งที่เพี้ยนเสียงไปเป็น "กาขาว" ล่ะ หมายความว่าอย่างไรดี ตอนแรกนะผมนึกเท่าไรก็นึกไม่ออก ว่า "ตา" จะเป็น "กา" ไปได้อย่างไร แต่พอมาระยะ ๕-๖ ปีให้หลังมานี้ผมึง "บางอ้อ" ไม่ใช่พี่ไทยเลี้ยงอีกาสีขาวหรอกครับ เพราะกายังไงเสีย กาขนมันก็ดำวันยังค่ำ แต่ คนไทยเราไม่เจียมบอดี้ หรือไม่เจียมตนน่ะซิครับ ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนสมัยรัชกาลที่ ๖ ไม่ผิดเพี้ยนเลยคือมีการนิยมของนอก มีการใช้จ่ายที่เกินตัว ฟุ้งเฟ้อ เห่อเหิม อยากได้อะไรเป็นต้องได้ ขนาดลงทุนเป็นหนี้เป็นสินเขาดอกเบี้ยสูงขนาดไหนก็เอา เห็นผิดเป็นชอบ เห็นดำเป็นขาว เหมือนอีกาที่ขนดำก็อยากจะทำให้มันขาว คราวนี้แจ่มชัดหรือยังว่า ทำไมเมืองไทยถึงเป็น "ถิ่นกาขาว" หรือ"ถิ่นตาขาว" ไม่รู้ลองไปถามไอ้พวกฝรั่ง " IMF " ดู แล้วจะรู้ไปถึงก้นบี้งหัวใจ
๑๐. ชาวศิวิไลซ์ หมายถึงยุคที่ ๑๐ หรือรัชกาลที่ ๑๐ ซึ่งยังมาไม่ถึง มีผู้ตีความกันต่าง ๆ นานาเมื่อดูจากความหมายแล้ว คำนี้มาจากภาษาอังกฤษ หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สงบสุขร่มเย็น ดังนั้นก็เป็นอันเชื่อขนมกินกันได้เลยว่า ในรัชสมัยต่อไป ประเทศไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเราจะต้องเจริญรุ่งเรื องก้าวหน้า มั่นคงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ประชาชนจะอยู่ร่วมกันด้วยความร่มเย็นเป็นสุข หน้าชื่นตาบานกันทุกถ้วนหน้า จริงเท็จประการใด กาลเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์
อ้างอิง http://www.meesook.com/horoscope/html/0000042.html
จากหนังสือจุลสาร " 1999 โลกพินาศ 2542 แผนอยู่รอด "
(รวบรวมโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พิชัย โตวิวิชญ์)
ความเป็นไทยในมุมมองที่คุณไม่เคยสัมผัส
12 สิงหาคม 2554
1 สิงหาคม 2554
เมืองน่าอยู่อันดับ 7 ของโลก
จังหวัดหนองคาย ได้รับการคัดเลือกจากนิตยสาร Moderm Maturity ว่าเป็นแหล่งพักผ่อนที่สองติดอันดับสถานที่ดีที่สุดในโลก สำหรับผู้สูงอายุชาวอเมริกัน
จังหวัดหนองคาย ตั้งอยู่บริเวณชายแดนติดต่อกับประเทศ สปป.ลาว โดยห่างจากเมืองหลวงของ สปป.ลาว คือ กรุงเวียงจันทน์ เพียง 30 ก.ม. ซึ่งได้รับการจัดอันดับในลำดับที่ 7 จากเมืองที่ได้รับการจัดอันดับทั้งหมด 15 แห่ง ที่แนะนำให้ผู้อ่านพิจารณาเป็นแหล่งพักผ่อนที่สองนอกจากบ้านตนเอง
จากการสำรวจแหล่งพักผ่อนทั้งหมด 40 แห่ง โดยพิจารณาจากตัวชี้วัด 12 ตัว ได้แก่ลักษณะภูมิอากาศ, ค่าครองชีพ, วัฒนธรรม, สาธารณูปโภค,สถานที่พัก, ระบบการขนส่ง, การบริการด้านสาธารณสุข,สภาพแวดล้อม, กิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจ, ความปลอดภัย, ความมั่นคงทางการเมือง และเทคโนโลยี
สำหรับเมืองที่ได้รับการจัดอันดับ 10 เมืองแรก
1. เมืองคอสตาเดลโซล ประเทศสเปน
2. เมืองแซงค์เทียร์ ประเทศอิตาลี
3. เมืองโพรวองซ์ ประเทศฝรั่งเศส
4. เมืองบูแกต ประเทศปานามา
5. เมืองวิเซนต์ เกรนาดีน
6. เมืองเคาร์ตี้แคร์ ประเทศไอร์แลนด์
7. จังหวัดหนองคาย ประเทศไทย
8. เมืองครีท ประเทศกรีซ
9. เมืองแอมแบร์กริส เคร์ ประเทสเบลิตซ์
10. เมืองตูนิส ประเทศตูนีเซีย
การจัดอันดับข้างต้นถูกตีพิมพ์อย่างเป็นทางการในแมกกาซีน Moderm Maturityฉบับเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน
จังหวัดหนองคาย ตั้งอยู่บริเวณชายแดนติดต่อกับประเทศ สปป.ลาว โดยห่างจากเมืองหลวงของ สปป.ลาว คือ กรุงเวียงจันทน์ เพียง 30 ก.ม. ซึ่งได้รับการจัดอันดับในลำดับที่ 7 จากเมืองที่ได้รับการจัดอันดับทั้งหมด 15 แห่ง ที่แนะนำให้ผู้อ่านพิจารณาเป็นแหล่งพักผ่อนที่สองนอกจากบ้านตนเอง
จากการสำรวจแหล่งพักผ่อนทั้งหมด 40 แห่ง โดยพิจารณาจากตัวชี้วัด 12 ตัว ได้แก่ลักษณะภูมิอากาศ, ค่าครองชีพ, วัฒนธรรม, สาธารณูปโภค,สถานที่พัก, ระบบการขนส่ง, การบริการด้านสาธารณสุข,สภาพแวดล้อม, กิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจ, ความปลอดภัย, ความมั่นคงทางการเมือง และเทคโนโลยี
สำหรับเมืองที่ได้รับการจัดอันดับ 10 เมืองแรก
1. เมืองคอสตาเดลโซล ประเทศสเปน
2. เมืองแซงค์เทียร์ ประเทศอิตาลี
3. เมืองโพรวองซ์ ประเทศฝรั่งเศส
4. เมืองบูแกต ประเทศปานามา
5. เมืองวิเซนต์ เกรนาดีน
6. เมืองเคาร์ตี้แคร์ ประเทศไอร์แลนด์
7. จังหวัดหนองคาย ประเทศไทย
8. เมืองครีท ประเทศกรีซ
9. เมืองแอมแบร์กริส เคร์ ประเทสเบลิตซ์
10. เมืองตูนิส ประเทศตูนีเซีย
การจัดอันดับข้างต้นถูกตีพิมพ์อย่างเป็นทางการในแมกกาซีน Moderm Maturityฉบับเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน
31 กรกฎาคม 2554
บรรดาศักดิ์ไทย
บรรดาศักดิ์ของขุนนางไทยแบ่งออกได้เป็น 9 ระดับคือ
1. สมเด็จเจ้าพระยา
2. เจ้าพระยา
3. พระยาหรือ ออกญา
4. พระ และ จมื่น
5. หลวง
6. ขุน
7. หมื่น
8. พัน
9. นาย
แต่ละบรรดาศักดิ์ จะมี ศักดินา ประกอบกับบรรดาศักดิ์นั้นด้วย ระบบขุนนางไทย ถือว่า ศักดินา สำคัญกว่า บรรดาศักดิ์ เพราะศักดินา จะใช้เป็นตัววัดในการปรับไหม และ พินัย ในกรณีขึ้นศาล บรรดาศักดิ์ ใน พระไอยการนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง นี้ ค่อนข้างสับสนและไม่เป็นระบบ คล้ายๆ กลับว่า ผู้ออกกฎหมายนึกอยากจะให้บรรดาศักดิ์ใด ศักดินาเท่าไหร่ ก็ใส่ลงไป โดยไม่ได้จัดเป็นระบบแต่อย่างใด (เพิ่มเติมวันที่ 4 มีนาคม 2550 ตามความเห็นไม่คิดว่าจะจัดไม่เป็นระบบแต่อย่างใด แต่เป็นลักษณะอย่าง เช่น เมืองตากเป็นเมืองเล็กๆ พระยาตากอาจถือศักดินาสูงสุดอยู่ในเมืองตาก หมายความว่าใหญ่สุดในเมืองตากทั้งศักดินาและบรรดาศักดิ์ แต่อย่างที่บอกไป เมืองตากเป็นเมืองเล็ก เป็นไปได้ว่าอาจมีศักดินาต่ำกว่ายศขุนของอยุธยาซึ่งถือว่าเป็นเมืองใหญ่ก็เป็นได้ ทั้งนี้ควรหาข้อมูลเปรียบเทียบตรงจุดนี้ให้กระจ่าง) ดังนั้น จึงมีขุนนางใน กรมช่างอาสาสิบหมู่ หรือ บางกรม ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา แต่ศักดินาต่ำกว่า 1,000 ไร่ ซึ่งถือเป็นขุนนางระดับต่ำ
ในสมัยต่อมาได้มีการเพิ่มเติม บรรดาศักดิ์ต่างๆ จากทำเนียบพระไอยการนาพลเรือน นาทหาร หัวเมืองขึ้นอีกเป็นอันมาก
ขุนนางของไทยสมัยโบราณ ไม่เหมือนกับขุนนางในประเทศตะวันตก คือ ไม่ได้เป็นขุนนางสืบตระกูล ผู้ที่ได้ครองบรรดาศักดิ์ก็อยู่ในบรรดาศักดิ์เฉพาะตนเท่านั้น จึงเทียบได้กับข้าราชการ หรือ ระบบชั้นยศของข้าราชการในสมัยปัจจุบัน ที่มีการแบ่งเป็นระดับต่างๆ แต่ขุนนางไทยในสมัยโบราณ จะมีราชทินนาม และ ศักดินา เพิ่มเติมแตกต่างจากข้าราชในปัจจุบันที่มีเพียงชั้นยศเท่านั้น
บรรดาศักดิ์ จมื่น หรือ พระนาย นั้น เป็นบรรดาศักดิ์ หัวหน้ามหาดเล็ก ในกรมมหาดเล็ก ศักดินา 800-1000 ไร่ เทียบได้เท่ากับ บรรดาศักดิ์ พระ ที่มีศักดินาใกล้เคียงกัน แต่จมื่นนั้น ได้รับการยกย่องมากกว่า เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน และมักจะมีอายุยังน้อย อยู่ในระหว่าง 20-30 ปี มักเป็นลูกหลานของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่นำมาถวายตัวรับใช้ใกล้ชิด พระเจ้าแผ่นดิน และเป็นช่องทางเข้ารับราชการต่อไปในอนาคต
ส่วนคำว่า ออก ที่เติมหน้า บรรดาศักดิ์สมัยโบราณนั้น เช่น ออกญา ออกขุน ออกหลวง นั้น มักเป็นคำแสดงความอาวุโสในบรรดาศักดิ์นั้น แต่ยังไม่ได้เลื่อนขึ้นไปยังบรรดาศักดิ์ที่สูงกว่า
อ้างอิง http://th.wikipedia.org/
อาชีพและวิชาชีพ ที่ห้ามคนต่างด้าวทำ
(1) | งานกรรมกร |
(2) | งานกสิกรรรม งานเลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรืองานประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญ งานเฉพาะสาขา หรืองานงานควบคุมดูแลฟาร์ม |
(3) | งานก่ออิฐ งานช่างไม้ หรืองานก่อสร้างอื่น |
(4) | งานแกะสลักไม้ |
(5) | งานขับขี่ยานยนต์ หรืองานขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องกล ยกเว้นงานขับขี่เครื่องบินระหว่างประเทศ |
(6) | งานขายของหน้าร้าน |
(7) | งานขายทอดตลาด |
(8) | งานควบคุม ตรวจสอบหรือให้บริการบัญชี ยกเว้น งานตรวจสอบภายในชั่วคราว |
(9) | งานเจียระไน หรือขัดเพชรหรือพลอย |
(10) | งานตัดผม งานดัดผม หรืองานเสริมสวย |
(11) | งานทอผ้าด้วยมือ |
(12) | งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ปอ ฟาง หรือเยื่อไม้ไผ่ |
(13) | งานทำกระดาษสาด้วยมือ |
(14) | งานทำเครื่องเขิน |
(15) | งานทำเครื่องดนตรีไทย |
(16) | งานทำเครื่องถม |
(17) | งานทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก |
(18) | งานทำเครื่องลงหิน |
(19) | งานทำตุ๊กตาไทย |
(20) | งานทำที่นอนผ้าห่มนวม |
(21) | งานทำบัตร |
(22) | งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ |
(23) | งานทำพระพุทธรูป |
(24) | งานทำมีด |
(25) | งานทำร่มด้วยกระดาษหรือผ้า |
(26) | งานทำรองเท้า |
(27) | งานทำหมวก |
(28) | งานนายหน้า หรืองานตัวแทน ยกเว้น งานนายหน้าหรืองานตัวแทนในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ |
(29) | งานในวิชาชีพวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา ที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวณ จัดระบบ วิจัย วางโครงการ ทดสอบ ควบคุมการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำ ทั้งนี้ไม่รวมที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ |
(30) | งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับงานออกแบบเขียนแบบ ประมาณราคา อำนวยการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ |
(31) | งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย |
(32) | งานปั้นหรือทำเครื่องปั้นดินเผา |
(33) | งานมวนบุหรี่ด้วยมือ |
(34) | งานมัคคุเทศก์ หรืองานจัดนำเที่ยว |
(35) | งานเร่ขายสินค้า |
(36) | งานเรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ |
(37) | งานสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ |
(38) | งานเสมียนพนักงานหรืองานเลขานุการ |
(39) | งานให้บริการทางกฎหมายหรืออรรถคดี |
**หมายเหตุ ตามมติคณะรัฐมนตรี ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง 3 สัญชาติ (พม่า ลาว และกัมพูชา)
ทำงานได้ 2 อาชีพ คือ 1. งานกรรมกร และ 2. งานรับใช้ในบ้าน
ทำงานได้ 2 อาชีพ คือ 1. งานกรรมกร และ 2. งานรับใช้ในบ้าน
อ้างอิง http://wp.doe.go.th/alien_job
30 กรกฎาคม 2554
พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล หรือ พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
จัดขึ้นเพื่อให้พระบรมวงศานุวงศ์และ ข้าราชการดื่มน้ำสาบานว่าจะจงรักภักดีและซื่อตรงต่อพระมหากษัตริย์ เป็นการให้สัตย์สาบานสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนั้นมีหลักฐานวรรณกรรมเรื่อง ลิลิตโองการแช่งน้ำ ใช้เป็นประกาศคำถวายสัตย์ในพระราชพิธีถือน้ำ พระราชพิธีดังกล่าวนี้ยังประกอบในโอกาสต่างๆ เช่น พระราชพิธีถือน้ำเมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นครองราชย์ พระราชพิธีถือน้ำเมื่อออกสงคราม นอกเหนือไปจากที่กระทำเป็นประจำทุกปี ๆ ละสองครั้ง ในสมัยอยุธยาข้าราชการถือน้ำที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ ต่อมาย้ายไปที่วิหารพระ มงคลบพิตร เมื่อถือน้ำแล้วใช้ดอกไม้ธูปเทียนไปถวายบังคมพระเชษฐบิดร เป็นเทวรูปฉลองพระองค์ของพระเจ้าอู่ทอง หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ แล้วจึงเข้าไปถวายบังคมพระเจ้าแผ่นดินพร้อมกัน หากผู้ใดไม่สามารถเข้ามาถือน้ำในกรุงศรีอยุธยาได้ จะประกอบพระราชพิธีถือน้ำที่วัดอารามใหญ่ ๆ ในท้องที่นั้น
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในสมัยอยุธยาจะประกอบพระราชพิธีนี้ในวาระต่าง ๆ ๔ วาระด้วยกันคือ (สุภาพรรณ ณ บางช้าง, ๒๕๓๙ : ๑๑๘ – ๑๔๘)
- พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสวยสิริราชสมบัติ กล่าวคือ เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จสวรรคต พระบรมโอรสาธิราชผู้สืบราชสมบัติ ปรงโปรดเกล้าฯให้มีพระบรมราชโองการให้พระบรมวงนุสานุวงศ์ ข้าราชกาล เจ้าหัวเมืองน้อยใหญ่มาเข้าเฝ้ายังพระราชวังเพื่อดื่มน้ำถวายสัตย์สาบานแสดงความจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดินองศ์ใหม่- พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาประจำปี อันประกอบด้วยเดือนห้าและเดือนสิบ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการตรวจสอบบรรดาข้าราชกาลและเจ้าหัวเมืองต่าง ๆ หากผู้ใดไม่เข้ามาร่วมพิธีก็จะถือว่าเป็นกบฏ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่ข้าราชการด้วย
- พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในสงคราม เป็นการแสดงความจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดินและประเทศชาติที่กำลังจะเสียสละชีวิตในการออกสงคราม เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังให้แก่เหล่าทหาร เพราะน้ำพระพิพัฒน์สัตยานั้นถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ด้วย
- พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในทางการเมือง ถือเป็นพิธีช่วยประสานไมตรีและสร้างความมั่นคงทางการเมืองของบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ จะประกอบพระราชพิธีก็ต่อเมื่อเห็นว่า หัวเมืองนั้นแสดงความกระด้างกระเดื่องมีแนวโน้มจะแข็งเมือง
ในสมัยรัตนโกสินทร์กำหนดปีหนึ่งนั้นให้ประกอบขึ้น ๒ ครั้ง คือ ใน วันขึ้น ๓ ค่ำเดือน ๕ และ วันแรม ๑๓ ค่ำเดือน ๑๐ การถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในกรุงรัตนโกสินทร์ มี ๕ อย่างคือ (สมปราชญ์ อัมมะพันธุ์, ๒๕๓๖ : ๓๐๗)
๑. ถือน้ำเมื่อพระเจ้าแผ่นดินได้รับราชสมบัติ เป็นพิธีจร
๒. ถือน้ำสำหรับผู้ที่ได้รับราชกาลอยู่แล้ว ต้องถือน้ำปีละ ๒ ครั้ง เป็นพิธีประจำ ท้ายพระราชพิธีพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ เข้าสู่เดือน ๕ ครั้งหนึ่ง และพิธีสารท เดือน ๑๐ ครั้งหนึ่ง
๓. ถือน้ำสำหรับผู้ซึ่งมาจากเมืองปัจจามิตรเข้ามาสู่บรมโพธิสมภาร เป็นพิธีจร
๔. ถือน้ำสำหรับทหารซึ่งถืออาวุธอยู่เสมอ ต้องถือน้ำทุกเดือน เป็นพิธีประจำ ประกอบขึ้นในวันขึ้น ๓ ค่ำของทุกเดือน
๕. ถือน้ำสำหรับผู้ซึ่งเป็นที่ปรึกษาราชการ ต้องถือน้ำทุกเดือน เป็นพิธีจร
การพิธีถือน้ำประกอบขึ้นที่วักพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งพระพุทธรูปชัยวัฒน์เงิน รัชกาลที่ ๑ พระชัย รัชกาลที่ ๕ พระชัยเนาวโลหะน้อยสำหรับนำเสด็จพระราชดำเนิน พระปริยัติธรรมสามพระคัมภีร์ และเทวรูปพระอิศวร พระอุมา พระนารายณ์ พระพรหม พระแสงศรสาม พระแสงพอกเพชรรัตน์ พระแสงต่าง ๆ สำหรับจุ่มลงในหีบมุขบรรจุน้ำตั้งอยู่หน้าโต๊ะหมู่พระพุทธรูป มีพระชันหยก เทียนสำหรับพระราชพิธี พระถ้วยแก้วโมราจานรองกรอบทองคำประดับเพชร เครื่องต้นสำรับหนึ่ง ริมฐานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีม้าเท้าคู้ทองเหลือง ตั้งหมอน้ำเงินสิบสองหม้อ ขันสาครตั้งข้างล่างสองขัน โยงสายสิญจน์ถึงกันตลอด พระสงฆ์ ๓๘ รูปเจริญพระพุทธมนต์
พระมหาราชครูอ่านโองการแช่งน้ำ เมื่ออ่านโองการจบ เจ้ากรมพราหมณ์พฤฒิบาศเชิญพระแสงดาบออกจากฝัก ชุบน้ำในหม้อเงินและขันสาครทุกใบไปพร้อม กับที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ดนตรีประโคม เมื่อชุบพระแสงศาสตราเสร็จ พระมหาราชครูแห่น้ำที่ชุบพระแสงลงในเครื่องโมราเครื่องต้น เจือกับน้ำพระราชพิธีพราหมณ์ จากนั้นเจ้ากรมพฤฒิบาศรับพระขันหยกไปเท เจือปนในหม้อเงินและขันสาคร
พระมหาราชครูพิธีนำน้ำมาถวายพระเจ้าแผ่นดินเสวย ซึ่งแต่เดิม ผู้ที่ถือน้ำนั้นจะเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ เจ้าหัวเมืองประเทศราชทั้งหลาย ข้าราชการเท่านั้น มาครั้งรัชกาลที่ ๔ ทรงเริ่มที่จะถือน้ำด้วย เป็นการแสดงถึงความซื่อสัตย์ต่อการบริหารประเทศและอาณาประชาราชทั้งหลาย เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสวยเสร็จ จึงเป็นลำดับของพระบรมวงศานุวงศ์ เจ้าหัวเมือง และบรรดาข้าราชกาลตามลำดับศักดินาที่มีตั้งแต่ ๔๐๐ ขึ้นไป ส่วนบรรดาพวกที่อยู่ไกลจากเมืองหลวงจะประกอบพระราชพิธีถือน้ำในวันเดียวกันนี้ที่อารามหลวง อนึ่งถ้าผู้ใดขาดการถือน้ำจะมีโทษถึงตายยกเว้นแต่ไข้ป่วย (สมปราชญ์ อัมมะพันธุ์, ๒๕๓๖ : ๓๐๙)
คำประกาศถวายสัตย์สาบานในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในรัชการที่ ๕ มีดังนี้
“ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกระทำสัตยาธิฐานสบถสาบานถวายแต่พระเจ้าอยู่หัวจำเพาะพระพักตร์ พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า ด้วยข้าพระพุทธเจ้าจะกระทำราชกาลฉลองพระเดชพระคุณโดยสัจสุจริต ซื่อตรง แต่ความสัจจริง มิได้กบฏประทุษร้าย มิได้เอาน้ำใจไปแผ่เผื่อไว้แก่ไท้ต่างด้าวท้าวต่างแดน เพื่อจะให้กระทำประทุษร้ายสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ถ้ามีการศึกยกมากระทำแก่พระนครก็ดี พระพุทธเจ้าอยู่หัวจะใช้ข้าพระพุทธเจ้าไปกระทำสงครามแห่งใด ตำบลใดก็ดี ถ้าข้าพระพุทธเจ้าเกรงกลัวข้าศึกมากกว่าเจ้า ไม่ทำการเอาชัยชนะข้าศึกได้ ขอให้เทพยเจ้าอันรักษาโลกในมงคลจักรวาฬ หมื่นโกฎิจักรวาฬแสนโกฏิจักรวาฬ มาเข้าดลพระทัยพระเจ้าอยู่หัว ให้ตัดหัวผ่าอกข้าพระพุทธเจ้า แต่ในปัจจุบันขณะเดียวนี้เถิด อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าเห็นแก่จักษุได้ฟังแก่โสต รู้ว่าผู้อื่นคิดกบฏประทุษร้ายด้วยความทุจริตผิดด้วยพระราชบัญญัติ แล้วนำเอาเนื้อความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบ ถ้าข้าพระพุทธเจ้ามิได้ ตั้งอยู่ในความสัจสาบานดุจกล่าวมานี้ ขอจงภูมิเทวดา อารักษเทวดา อากาศเทวดา รุกขเทวดา ท้าวจตุโลกบาล ท้าวอัฐโลกบาล ท้าวทัศโลกบาลอันมีฤทธิ์สิทธิศักดิ์ลงสังหารผลาญชีวิต ฯ ข้า ฯ ให้ฉินทภินทะพินาศ ด้วยอุปะปีฬก, อุปเฉทคกรรมุปะฆาฏด้วยอัสนีบาตรสายฟ้าฟาด ราชสัตถาวุธดาบ องครักษ์จักรนารายณ์ กระบือเสี่ยว ช้างแทง เสือสัตว์อันร้ายในน้ำในบก จงพิฆาฏอย่าให้ปราศจากปัญจวีสติมหาภัย 25 ประการ และทวดึงส์ กรรมกรณ์ 32 ประการ ถ้าข้าพระพุทธเจ้ารับพระราชทานน้ำพิพัฒน์สัจจาธิษฐานนี้แล้ว จงบันดาลให้เกิดฝีพิษ ฝีกาลอติสารชราพาธ ฉันนะวุติโรคร้าย 96 ประการ ให้อกาลมรณภาพตายด้วยความทุกข์เวทนาลำบากให้ประจักษ์แก่ตาโลกใน 3 วัน 7 วัน แล้วจงไปบังเกิดในมหานรกหมกไหม้อยู่สิ้นแสนกัลป์อนันตชาติ ครั้งสิ้นกรรมจากที่นั้นแล้ว แล้วจงไปบังเกิดในภพใด ๆ อย่าให้ข้าพระพุทธเจ้าพบพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า ซึ่งจะมาโปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าได้เลย ถ้าข้าพระพุทธเจ้าตั้งในกตัญญูกตเวที ความสัจสุจริตโดยบรรยายกล่าวมาแต่หนหลัง ขอจงภูมิเทวดา อารักษเทวดา รุกขเทวดา อากาศเทวดา ท้าวจัตุโลกบาล ท้าวอัฐโลกบาล ท้าวทัศโลกบาล เทวดาผู้มีฤทธิ์สิทธิศักดิ์ จงช่วยอภิบาลข้าพระพุทธเจ้าให้เจริยศรีสวัสดิ์โดยบรรยายอันกล่าวมานั้นจงทุกประการ ข้าพระพุทธเจ้ารับพระราชทานน้ำพิพัฒสัจจาธิษฐานแล้ว จงให้ข้าพระพุทธเจ้าบังเกิดสุขสวัสดิภาพพ้นจากฉันนะวุฒิโรค ๙๖ ประการ เจริญอายุวรรณะสุขพละ ให้ถึงแก่อายุบริเฉทกำหนดด้วยสุขเวทนา ดุจนอนหลับแล้ว และตื่นขึ้นในดุสิตพิมาน เสวยทิพยสุไขสวรรย์สิ้นแสนกัลป์อนันตชาติครั้นข้าพระพุทธเจ้าจากสวรรค์เทวโลกแล้ว ลงมาในมนุษย์โลกจงได้พบพระพุทธเจ้าพระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า แล้วเสร็จแก่พุทธภูมิ อรหัตภูมิ พ้นจากสารทุกข์ด้วยความสัจสุจริตกตัญญูนั้นเถิด” (ดูใน เบญจมาศ พลอินทร์, ๒๔๒๓ : ๒๓)
http://www.ohmpps.go.th/searchsheetlist_en.php?get=1&offset=34449
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)